งานถักไร้ตะเข็บ...กับ เปิดลายลมผ่าน

งานถักไร้ตะเข็บ...กับ เปิดลายลมผ่าน
เป็นลายถักที่เปิดช่องเป็นริ้ว

ลายถักผ้าพันคอ

ลายถักผ้าพันคอ
ไม่จำเป็นต้องถอนตะปูออก

ไอเดีย...แปลก กับเสื้อถักด้วยบล็อกไม้

ไอเดีย...แปลก กับเสื้อถักด้วยบล็อกไม้
ถักเสื้อชิ้นเดียว ..กับงานเก็บตะเข็บข้าง

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง....เล่างานถัก 14

อุตรดิตถ์ , ปราจีนบุรี , จันทบุรี, สุราษฏร์ธานี,อุบลราชธานี,เลย ,อุดรธานี ,ขอนแก่น, หนองคาย, นครพนม, สกลนคร, ศรีสะเกษ  หรือแม้แต่ ต่างประเทศ ออสเตรีย  ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ งานถักเสื้อ 2 สไตล์ คือ แบบมีตะเข็บข้าง และ ไร้ตะเข็บ ( ซึ่งจะมีหนังสือออกมาจำหน่ายในเร็ววันนี้ )   รายชื่อจังหวัดอีกมากมาย รวมถึงโรงเรียนอีกหลายแห่ง , ผู้ปกครองของเด็ก ๆ ที่พาน้อง ๆ มาฝึกงานฝีมือต่าง ๆ อีกหลายแบบ  ได้เรียนรู้กันแบบตัวต่อตัว  ถามไถ่กันได้ทุกขั้นตอนไม่ต้องซ่อนเงื่อนงำ  
หากเพื่อนสมาชิกท่านใด ต้องการเรียนรู้ มิต้องอายที่จะเรียนรู้ค่ะ  ติดต่อสอบถามกันมาได้น่ะ 
สอนกันแบบหมดเปลือกกันเลย เรียกว่า " เรามาแลกเปลี่ยนความรู้งานฝีมือกันดีกว่า "

เรื่อง.....เล่างานถัก 13

ไม่ว่าจะเป็นการเชิญ , ชักชวน, วิงวอนให้ไปช่วยสอน หรือเป็นวิทยากรพิเศษ ใด ๆ ที่ตาม  เคยคิดจะตั้งเงื่อนไขการเดินทาง เป็นขั้นตอนคือ  จะต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าที่พัก  ค่าลายถัก  เราจะสอนวิธีการขายให้  พร้อมเปิดตลาดงานถัก กับไหมพรมนานาชนิดที่เรามีอยุู่  สอนเทคนิคการปิดงานขายกับลูกค้า  เพื่อเปิดตลาดงานถักด้วยบล็อคไม้ตะปู ให้กระจายความรู้ไปทั่ว ๆ  

สรุปจริง ๆ แล้ว  เราแทบจะไม่ได้อะไรเลยจากเงื่อนไขขั้นตอน  เพราะ เราให้ใจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใด ๆ ก็แล้วแต่   ยกเว้น  ว่าผู้เชิญซื้อไหมพรมจากเราไปเอง    ที่คุณจะต้องจ่ายตามจริง  สิ่งที่ผู้เชิญจะได้จากเรานั้นมากมาย เรียกว่ากันว่า " ได้กำไรจะจะ "   ด้วยซ้ำ 

จากวันนั้นมา  กลางปี 2554 - จนถึงต้นปี 2555  เรางดออกสอนต่างจังหวัด  แค่ให้คำตอบสั้นว่า
" หากต้องการเรียนรู้  แนะนำให้เดินทางมาเรียนที่สระบุรี ดีกว่า น่ะ"

เรื่อง......เล่างานถัก 12

จากที่เคยบอกกันมาแต่ก่อน ๆ แล้วว่า 
ประสบการณ์ของงานถัก คนเรามีแตกต่างกัน  ไอเดียก็อาจจะเหมือน หรือ อาจจะเลียนแบบกันได้  แต่มีสิ่งหนึ่งที่คนเราต้องระลึกไว้เสมอ ๆ ว่า   " ต้องมีครู "
บางคนเก่งงานควิลท์  งานโครเชต์  งานนิตติ้ง  งานครอสติช  แต่ก็อาจจะไม่เคยถักบล็อคไม้ตะปูมาก่อน  เมื่อได้เรียนรู้จาก ผู้รู้ หรือที่มักจะเรียกกันว่า " กูรู "   ก็ควรจะมีสัมมาคารวะ  คู่กับการรู้จักนบน้อม
มิใช่เลือกแต่สิ่งดี ๆ เข้าตัว    มิใช่ว่ากล่าว หรือชี้แจง ในสิ่งที่มิควรกระทำ
... เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มิใช่ใครมิรุู้  ใจเราย่อมรู้อยู่เสมอ
...ณ. วันเวลานี้  ข้าพเจ้าขออโหสิให้แก่  ท่านผู้นั้น  ... สาธุ

เรื่อง....เล่างานถัก 11

ด้วยชื่อหนังสือที่ว่า " มาถักเสื้อ  แบบฉบับ " คุณวศินี " กันน่ะ
                                   ด้วยบล็อคไม้ตะปู Kintting Borad "
กลับเป็นฮือฮากันมาก ในหมู่เพื่อนสมาชิกที่กำลังเริ่มต้นงานถัก และในขณะเดียวกัน กับคนที่ถักกันอยู่แล้ว  เริ่มถามหาหนังสือกัน เรียกว่าพิมพ์เอง  ประกอบเล่มเอง  ตั้งแต่จัดหาถ้อยคำที่อ่านแล้วน่าจะทำได้
แต่ก็ยังแถม............!!!!!!!  คำถามพิเศษได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากไม่เข้าขั้นตอนกันจริง ๆ  
หลังจากนั้นก็เริ่ม อัพข้อมูลใส่ภาพเพิ่มเติมใน เวป PICASA  เรื่อย ๆ  จนทำให้อีกหลายคนได้รู้จัก และก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้จัก  แต่ก็มีอีกมาก ๆ  หลาย ๆ คน ที่ได้ลอกเลียนแบบ ...ก็ไม่เป็นไรหรอก  ไม่ว่ากัน

เรื่อง....เล่างานถัก 10

และแล้ว   .... เสื้อตัวแรกก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น  ใช้ไหมแอนนี่ช๊อยส์ สีเหลือบม่วง  ถักเป็นเสื้อแขนล้ำ เอวลอย  ( ตอนนี้โชว์ อยู่ที่บ้านหมอเจี๊ยบ ที่จังหวัดน่าน อาจจะขายไปแล้วก็ได้)  พอถักได้สำเร็จก็เริ่มนำไปโพสต์ไว้ในเนตทันที  คราวนี้ล่ะ ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหนที่กำลังฮิตการถักด้วยบล็อคไม้ตะปู ก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาเรียนกันแบบไม่ว่างเว้นกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเดินทางมาจากสุรินทร์, กระบี่, นครราชสีมา, ฉะเชิงเทรา, สมุทรปราการ, นครศรีธรรมราช และ อีกมากมาย รวมถึงการเชิญไปเป็นวิทยากรในโรงเรียนต่าง ๆ  จากจุดเล็กนี้เอง  ทำให้เราต้องพัฒนาแบบเสื้อออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงไหมพรมที่จะใช้  รวมถึงลายถักที่เหมาะสมอีกด้วย
เมื่อชิ้นงานการถักเริ่มมีการสอบถามขั้นตอนกันมากขึ้น เราจึงรวบรวมเป็นตัวอักษร เป็นรูปเล่มที่ใช้วิธีการประกอบ  พิมพ์  เย็บเล่มเองกะมือ เป็นหนังสือที่ขายผ่านระบบเนต  ในราคา เล่มละ 300 บาท

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

เล่า.....เรื่องงานถัก 9

หลายคนที่เดินผ่าน  พากันมองอุปกรณ์ตัวใหม่ แล้วพากันยืนบ้าง  นั่งบ้าง  จนร้านดูแคบไปถนัดตา ร้านค้าข้างเคียงเริ่มขยับเสียงวิจารณ์อย่างไม่ต้องเกรงใจลูกค้ากันแล้ว  จำต้องขยายด้านหลังออกไป  จนเราเองนั่นแหละจะหาที่นั่งไม่ได้ ต้องเดินไปดูผู้เรียนคนนั้นที คนโน้นที คนนี้ ที
.....................................,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

แล้วเราก็เจอลูกค้ารายหนึ่ง  พาลูกสาวมาด้วย  เขาตั้งใจจะให้ลูกสาวมาเรียนรู้การถัก ให้ม้าแข่ง  เพราะลูกสาวเป็น นักแข่งม้านั่นเอง  ต้องขอบคุณมากเลยล่ะ ที่จุดประกายไอเดียงานถักให้
แล้วในคราวต่อไป เราจะมาเล่าเรื่อง  งานถักชิ้นแรกที่มิใช่ ถักเป็นแต่ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ แต่มันคือ?????????????????????????????????

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

เล่า.....เรื่องงานถัก 8

การเดินเล่นของเรา    เป็นการพักผ่อนสมองเพื่อจะได้เรียนรู้   วางแผน  เพื่อสำรวจตลาดว่ามีอะไรขาย และจะขายอะไรดีที่ไม่เหมือนใคร  หลังจากการเดินเล่นอยู่สองสามวัน  สลับการพัฒนางานถักของตัวเองไปเรื่อย ๆ  ก็ลงเอยที่ขายไหมพรมดีกว่า แต่...............แต่............ จะต้องเป็นไหมพรมที่ไม่มีขายในท้องถิ่น ( ตลาด )  
แล้ว.............เปิดตลาดขายไหมพรมกับคุณวศินี ที่สระบุรี  ก็เริ่มขึ้น จากนำเสื่อ มาปู หาเก้าอี้ตัวน้อย ๆ มาให้ลูกค้าได้นั่งถัก   แล้วไม่นาน  ลูกค้าของเราก็มีมาไม่ขาดสาย เพราะไม่เคยมีใคร เคยเห็นอุปกรณ์ชนิดนี้มาก่อน และไม่เข้าใจว่าจะถักแบบไหน  ถึงจะได้ผ้าพันคอ สวย ๆ แบบที่มีโชว์ในร้าน  พร้อม ๆ กับคำเชิญชวนที่ว่า
  " จำหน่าย พร้อมสอนฟรี  "

เล่า.....เรื่องงานถัก 7

"  หากลูกมีโอกาส  ลูกจะทำงานดูแลคนป่วย ดีป่ะ "  เอ่ยปากถามพ่อ เบา ๆ
พ่อพยักหน้า  อมยิ้ม 
จากนั้น เราก็ตั้งมั่นที่จะทำให้ได้  วันเวลาผ่านไปไม่นาน  งานถักที่ฝึกปรือก็การันตีงานของตัวเองได้ เมื่อได้ถักชุดเครื่องนอนให้เพื่อนในงานแต่งงาน  คราวนี้แหละ  งานก็เริ่มล้นมือแล้วตั้งหน้าตั้งตาถัก  จนลืมคำมั่นสัญญาที่จะ ดูแลคนป่วย อีกต่อไป  แล้วที่นี้ เราจะทำอะไรดีล่ะ เพื่อเป็นทำบุญให้พ่อไปในคราวเดียวกัน 
เริ่มค้นหาตัวเองอีกครั้ง  จะต้องหารายได้มาจุนเจือครอบครัวก่อน  เพราะเมื่อสิ้นบุญพ่อแล้ว  จะกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ ก็คงจะเกินวัยขบเผาะแล้ว   เฝ้าถามตัวเองว่าจะทำงานอะไรดี 
ใช่ซิ >>>>>>   ไปเดินเล่นดีกว่า

เล่า.....เรื่องงานถัก 6

 ระหว่างหัดถัก และ ฝึกฝนด้วยตนเองสักระยะ  ก็เริ่มหาไอเดียแปลก ๆ  จากคำโฆษณาก่อน  จะใช้คำไหนดี  จะเห็นจากในเนตหลายเวปด้วยกัน ว่า " สอนฟรี  แต่.... " สอนฟรี....ยกเว้น"  ...สอนฟรี  ห้ามนำ...อ่านแล้วก็เข้าใจเล่ห์เหลี่ยมของผู้คนทันทีว่า  สอนฟรีต้องมีข้อจำกัด     เราคิด คิด อยู่หลายตลบ จนกระทั่ง หยุดคิดไปชั่วระยะหนึ่ง เพราะต้องดูแลคุณพ่อซึ่งป่วยเป็นอัมพาตด้วย  
วันหนึ่ง  พ่อเข้าโรงพยาบาล  ระหว่างที่ดูแลท่าน  ก็มีคนเฝ้าไข้ข้าง ๆ ฝากดูแลญาติของเขาด้วย เพราะต้องไปทำงาน  อีกสักครู่จะมีญาติอีกคนมาเปลี่ยน  เราต้องดูแลทั้งคุณพ่อ และคนอื่น ๆ ที่ฝากเราไว้อีก 4 คน  ความคิดหนึ่งสะดุดขึ้น

เล่า.....เรื่องงานถัก 5

เมื่อเริ่มเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่านสื่อ ( ผู้เรียน), แล้ว  เราก็พยายามพัฒนาฝีมือตัวเองอยู่เรื่อย ๆ
ในช่วงแรกของการหาไหมพรม  จากที่เล่าเรื่อง จาก 1, 2, ฯ แล้ว  เรา...หยุดการหาไหมพรมชั่วคราว
หันมาหัดถักผ้าพันคอ  ด้วยไหมนานาชนิดที่น้อง ๆ มีอยู่ ทั้งเส้นเล็ก เส้นใหญ่ แม้กระทั่ง ด้ายในหลอด
สำหรับเย็บผ้าของคุณแม่  เราก็นำมาถัก  เพื่อจะได้หาลายแปลก ๆ ที่ไม่เหมือนใคร  ยอมรับน่ะ แรก ๆ
ก็ดูในเนตของ Picasa บ้าง ก็ถักได้น่ะ  ลองนำไหมตัวโน้น มาถักผสมตัวนี้ เอออ..........งานก็ออกมาสวย
และแปลก  จากนั้น  การค้าขายไหมพรมก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง  ด้วยการหาแหล่งใหม่ ๆ ที่ราคาถูกกว่า ที่เดิม
ที่เคยซื้อ จากที่เคยซื้อม้วนละ 120.-  กำไร ม้วนละ  10 .- ก็ได้ร้านนี้เนี่ยแระ  ที่ทำให้การค้าของเรารุ่งโรจน์อีกครั้ง  เพราะ ซื้อมาแค่ม้วนละ 80 บาท แต่ขายราคาเดิมคือ 130.- บาท 

เล่า.....เรื่องงานถัก 4

 ลูกค้าย่อมมีหลากหลายประเภท  ทั้งประเภทที่ทำไม่เป็น แต่อวดรู้ และทั้งที่รู้ ก็ยังอวดฝีปากมากกว่าฝีมือบ่อย ๆ  บางคนสู่.... เสื............อ.........ก  ในขณะที่กำลังสอนผู้เรียน  บางครั้งต้องระงับอารมย์กันเชียว เข้าตำรับ มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ  ผู้เรียนไม่มีสมาธิ หันซ้ายทีขวาที  จะฟังทั้งผู้สอนและ ผู้เสือก
สายตาแห่งความรำคาญก็เกิดขึ้น  เรา  ,ละมือจากผู้เรียน มองผู้เสือกอีกครั้ง ก่อนจะถามว่า จะสอนเองเลยมั้ย...!  ด้วยฟังคุณ(ผู้เสือก)มานานแล้ว  รู้สึกจะเก่งน่ะ  และแล้ว ร่างที่ยืนอยู่ ของผู้เสือกก็เริ่มปรากฏกายชัดขึ้น ด้วยสำเนียงที่ว่า " อ่อ อ่อ อ่ะ เคยเห็นเขาถักกันอ่ะ ยังม่ะ ม่ะเคยถักเหมือนกัน "  คราวนี้คงไม่ต้องอธิบายอ่ะ ไรแล้ว เพราะผู้เรียนหันไปบอกว่า " เสือกจัง "  ฟังแล้วอยากจะให้บล็อคไม้กันฟรี ฟรีเชียวละ     ................